วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556


            นิทานที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย

เด็กในระดับอายุต่าง ๆ กับย่อมมีความสนใจในนิทานแตกต่างกันออกไป ผู้เล่านิทานจึงมีควมจำเป็นจะต้งอมีความเข้าใจและคำนึงถึงความสนใจที่แตกต่างกันของเด็ก เพื่อจะเลือกนิทานได้เหมาะสม สอดคล้องตามความสนใจตามวัยของเด็กซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อเด็กอย่างสูงสุด นิทานที่เด็กสนใจ สามารถแบ่งได้ตามความต้องการและพัฒนาการของเด็กวัยต่าง ๆ ดังนี้ (เกริก ยุ้นพันธ์, 2539 : 59)
3.1 วัยแรกเกิด – 2 ขวบ
                                เด็กวัยนี้สนใจนิทานที่มีเรื่องสั้น ๆ หรือนิทานที่กล่าวถึงถ้อยคำเป็นคำ ๆ พร้อมภาพที่มีสีสดใส
                                3.2  วัย 2-4 ปี
                                เด็กวัยนี้จะสนใจคำพูดที่มีถ้อยคำคล้องจอง ชอบซักถามเพราะความอยากรู้อยากเห็น ชอบให้ผู้ใหญ่ร้องเพลงหรือท่องความคล้อจองให้ฟัง ชอบฟังนิทานเรื่องเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก เรื่องที่ชอบฟังมักจะเป็นเรื่องราวที่อยู่ใกล้ตัวและเกี่ยวข้องกับชีวิตจริง
                                3.3 วัย 4-6 ปี
                                เด็กวัยนี้จะให้ความสนใจเกี่ยวกับตนเองน้อยลง และหันมาสนใจสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวมากขึ้นจะชอบนิทานที่เป็นคำประพันธ์ สัมผัสคล้องจอง และชอบนิทานที่เกี่ยวกับสัตว์พูดได้
                                จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่าเด็กปฐมวัย จะสนใจนิทานที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับชีวิตจริงหรือเป็นเรื่องราวใกล้ตัว ที่ใช้คำพูดเป็นคำคล้อจอง และยังสามารถฟังได้หลาย ๆ ครั้ง

            หลักการเลือกนิทานสำหรับเด็ก
นิทานสำหรับเด็กมีมากมาย มีทั้งที่ดีและเหมาะสมสำหรับเด็กและนิทานทั่ว ๆ ไปเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ครูหรือผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องพิจารณาคัดเลือกให้เหมาะสม โดยมีหลักในการพิจารณาสรุปได้ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, (2541: 138)

                                1 เป็นเรื่องง่าย ๆ เหมาะสมกับวัยต่าง ๆ ของเด็ก มีจุดเด่นของเรื่องจุดเดียว เพื่อสะดวกที่จะให้เด็กจับประเด็นของเรื่องได้โดยไม่ยากนัก
                                2 ให้คำซ้ำ ๆ คำคล้องจอง และประโยคสั้น ๆ ที่เด็กจำได้ง่าย
                                3 มีบทสนทนาบ้าง
                                4 ใช้ภาษาที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับวัยของเด็ก
                                5 เหตุการณ์ของเรื่องควรเป็นเหตุการณ์ที่ใกล้เคียงตัวเด็กและเรื่องที่คิดคำนึงตามจินตนาการ
                                6 ตัวละครเด่นควรมีเพียงตัวเดียว ถ้ามีตัวละครหลายตัวจะทำให้เด็กงง
                                7 เนื้อหาของเรื่องจะต้องมีสาระ ค่านิยม ความคิดสร้างสรรค์ สอดแทรก คุณธรรมจริยธรรม เหมาะสมกับการปลูกฝังความดีงาม
                                8 ถ้าเป็นเรื่องของศาสนา วัฒนธรรมและเชื้อชาติควรเป็นเรื่องที่ทำให้เห็นภาพพจน์ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับท้องถิ่น
                                9 มีเนื้อเรื่องสนุกสนานชวนติดตาม และมีความยาวของเรื่องพอเหมาะ พอดี ใช้เวลาในการเล่าเหมาะสมกับช่วยระยะเวลาความสนใจสมาธิการฟังของเด็กที่ฟัง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น